อาการชักจากไข้สูง เกิดจากอะไร มีวิธีรับมืออย่างไร

ชักจากไข้สูง

หมายถึง อาการที่เกิดขึ้นขณะมีไข้สูง เนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยไม่รวมถึงการติดเชื่อของสมองและเยื้อบุสมอง พบเป็นสาเหตุอันดับแรกๆของอาการชักที่มีไข้ร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีพบได้ประมาณร้อยละ 3-5 ของเด็กในวัยนี้ และร้อยละ 50-70 ของเด็กเหล่านี้จะมีอาการชักร่วมด้วยกับไข้เพียงครั้งเดียว เด็กเล็กที่เคยชักจากไข้สูงมาครั้งหนึ่งแล้วประมาณร้อยละ 30-50 อาจจะมีอาการชักซ้ำได้ โดยทั่วไปเมื่อเด็กมีอายุมากกว่า 5 ปี โอกาสที่จะเกิดอาหารชักจากไข้สูงก็นับว่าน้อยลงมาก ทั้งนี้เนืื่องจากสมองเจริญเติมโตมากขึ้น จึงไวต่อการกระตุ้นน้อยลง เด็กที่เป็นโรคนี้มักมีประวัติว่า มีพี่น้องในครอบครัวเดียวกันเคยชักจากไข้สูงด้วย

สาเหตุของอาการชักจากไข้สูง

อาการชักจากไข้สูงพบมากในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนจนถึง 5 ปี (พบมากที่สุดในช่วง 3 ขวบแรก) เนื่องจากสมองของเด็กกำลังเจริญเติมโต จึงมีความไวต่อการกระตุ้นจากไข้ ซึ่งโดยมากขนาดของไข้ที่จะทำให้ชักได้มักจะสูงเกิน 39 องศา ขึ้นไปประมาณร้อยละ 70 ของเด็กที่ชักจากไข้สูง มักมีสาเหตุมาจากไข้หวัด,หลอดลมอักเสบ,ส่าไข้ เป็นต้น

อาการของไข้สูงแล้วชัก

จะมีไข้สูง 39.5 องศา – 40.5 องศา ร่วมกับอาการของโรค โรคที่เป็นสาเหตุ เช่น เป็นหวัด,เจ็บคอ,ไอ,ท้องเดิน เป็นต้น แล้วต่อมามีอาการชักแบบกระตุกทั้งตัว ตาค้าง กัดฟัน กัดลิ้นนาน ครั้งละ 2-3 นาที โดยมากจะชักเพียง 1-2 ครั้ง ขณะที่ตัวร้อนจัด พอไข้ลงก็จะไม่ชักซ้ำอีก เด็กจะมีอาการทั่วๆไปดี ไม่ซึม ไม่มีอาการคอแข็ง หรือกระหม่อมโป่งตึง ในรายที่เป็นรุนแรงมักจะชักเกิน 15 นาที หรือขักเกิน 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมง หรือมีอาการชักเพียงซีกใดซีกหนึ่งของร่างการ

อาการแทรกซ้อนของไข้แล้วชัก

ถ้าชัก 1-2 ครั้ง หรือเพียง 2-3 นาที มักจะไม่มีโรคแทรกซ้อนแต่อย่างใด รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่อสมองเชาร์ปัญญา และพัฒนาการของเด็ก แต่ถ้าการชักแบบรุนแรง (ชักนานเกิน 15 นาที ชักซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย) หรือมีประวัติโรคลมชักในครอบครัว ฏ้มีโอกาสเป็นลมบ้าหมูเมื่อโตขึ้น หรือทำให้สมองเสื่อม หรือ ปัญญาอ่อนได้

สิ่งสำคัญที่ต้องทำเมื่อลูกน้อยมีไข้ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะไข้ชัก

การเช็ดตัวเพื่อลดไข้

การเช็ดตัวเพื่อลดไข้เป็นหัตถการที่ใช้บ่อยมาก โดยเฉพาะในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 6 ปี ซึ่งมีโอกาสชักจากไข้สูงได้ การเช็ดตัวเด็กจะช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายโดยใช้น้ำเป็นตัวนำความร้อนออกจากร่างกาย

ข้อบ่งชี้

  1. ผู้ป่วย อุณหภูมิ > 38.5 องศา
  2. เด็กที่มีประวัติการไข้ชัก > 38 องศา

อุปกรณ์

  1. กะละมังเช็คตัว จำนวน 1-2 ใบใส่น้ำอุ่นประมาณ1/2 ของกะละมัง
  2. ผ้าขนหนูผืนเล็ก จำนวน 2-4 ผืน
  3. ผ้าเช็คตัวผืนใหญ่

ขั้นตอนการปฏิบัติ

  1. เตรียมสถานที่ ที่จะเช็ดตัวเด็กและคสรปิดแอร์
  2. ถอดเสทื้อผ้าผู้ป่วย และปูผ้าเช็ดตัวรองส่วนที่เช็ด เพื่อป้องกันน้ำเปียกที่นอน
  3. ใช้ผ่าขนหนูชุปน้ำอุ่นบิดน้ำให้หมาดพอควร เริ่มเช็ดบริเวณใบหน้า และพักไว้ที่หน้าผาก ซอกคอ ทำซ้ำ 3-4 ครั้ง
  4. เช็ดบริดวณหน้าอกและลำตัว
  5. เช็ดแขนดานใกล้ตัวอจากปลายแขน เข้าหาต้นแขนอและรักแร้เป็นการเช็คในลักษณะย้อนรูขุมขนเพื่อระบายความร้อนทำซ้ำ 3-4 ครั้ง และพักผ้าไข้บริเวณข้อพับแขน และรักแร้
  6. เช็ดแขนด้านใกล้ตัว โดยทำเช่นเดียวกัน
  7. เช็ดชาด้านใกล้ตัว จากปลายขาและขาหนีบ 3-4 ครั้ง และพัหผ้าไว้บริเวณใต้เข่า ขาหนีบ
  8. เช็ดขาด้านใกล้ตัว โดยทำเช่นเดียวกัน
  9. นอนตะแคงเช็ดบริเวณหลัง ตั้งแต่ก้นกบขึ้นบริเวณคอทำซ้ำ 3-4 ครั้ง
  10. เช็คตัวให้แห้ง แล้วใส่เสื้อผ้าผู้ป่วยให้เรียบร้อย

หมายเหตุ

  • ผู้ป่วยเด็กมีไขหมายถึง ผู้ป่วยเด็กมีอุณหภูมิมากกว้่ 37.8 องศา
  • การเช็คตัวเพื่อลดไข้ควรทำนานประมาณ 10-20 นาที หรือ ตามความเหมาะสม และควรเปลี่ยนน้ำในกะละมังบ่อยๆเพื่อรักษาอุณหภูมิของน้ำให้อุ่นคงที่ตลอดเวลา หลังจากการเช็ดตัวลดไข้ประมาณ 15 นาที ให้วัดอุณภูมิผู้ป่วยซ้ำ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *